ฮาร์ดแวร์ (HARDWARE)

       ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
               1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
               2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณClockเมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม1ครั้ง เราเรียกหน่วยที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt)
               3 หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
                     3.1  หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก(Primary Storage หรือ Main Memory) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป
                    3.2   หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง(Secondary Storage) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียูและเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลนั้นด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์(Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์(Floppy Disk)
               
4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต(Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส (Bus)ere to edit.

Picture

ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE)

       ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้  ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
               1  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
             1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux  DOS และ Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 XP Vista ) เป็นต้น
             1.2  ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง(Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
             1.3  ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น
             1.4  ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรมSetupและ Driver ต่าง 
               2  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
             2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน(Special Purpose Software)  คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ 
             2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป(General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม  ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Adobe Photosho, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

Picture

บุคลากร (PEOPLEWARE)

       บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
               1  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer  :  SA) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรมหรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม  นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
               2  โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software) หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
               3  ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
               4  ผู้ปฏิบัติการ (Operator) สำหรับระบบขนาดใหญ่  เช่น เมนเฟรม  จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง  และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง  จะต้องแจ้ง System  Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่องอีกทีหนึ่ง 
               5  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) บุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
               6  ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน  เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก

ข้อมูลและสารสนเทศ (Data Information)

     ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ

พื้นฐานการทำงานในระบบคอม

คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานซึ้งประกอบด้วยหน้าที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกได้เป็น 5 หน่วย ดังนี้ 1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 3 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 4 หน่วยรับและแสดงผลข้อมูล (inputoutput Unit) 5 ระบบบัส (System Bus) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลผลกลางที่เรียกว่า ซีพียู 【CPU : Central Processing Unit)ทำหน้าที่หลัก คือ ประมวลผลคำสั่งที่ได้รับจากผู้ใช้ ซึ่งซีพียูจะจัดการตามคำสั่งทั้งหมด โดยมีส่วนประกอบของ
หน่วยประมวลผลกลาง 3 ส่วน คือ 1 หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงตาง ๆ เร่มตั้งแต่การแปลคำสั่งที่ป้อนเขาไป โดยดึงคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาแปลความหมายเพื่อส่งไปให้หน่วยคำนวณและตรรกะ และตัดสินใจว่าเก็บข้อมูลไว้ที่ได 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU : Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ (Logical) ว่า มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เป็นจริงหรือเท็จ 3. รีจีสเตอร์ (Register) ทําหน้าที่เก็บข้อมูล ชุดคำสั่ง ผลลัพธ์ และข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะที่ซีพียูประมวลผลชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นหน่วยความจำ รีจีสเตอร์จะรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง และทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม ตัวอย่างรีจีสเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่ 3.1 Accumulate Register ใช้เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ 3.2 Storage Register เก็บข้อมูลและคำสั่งขั่วคราวที่ผ่านจากหน่วยความจำหลัก 3.3 Instruction Register เก็บคำสั่งในการประมวลผล 3.4 Address Register บอกตำแหน่งของข้อมูลและคำสั่งในหน่วยความจำ หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) หน่วยความจ่าหลักใช้เก็บข้อมูล คำสั่ง และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูแบบชั่วคราวมีตำแหน่งของการเก็บข้อมูลที่ไมซ้ำกันเรียกาา "แอดเดรส" (Address) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) พื้นที่และอุปกาณ์ที่ใช้สำหรับเก็บและบันทีกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอว์ ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาใช้งานในภายหลังได้หรือเก็บในสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น Flash Drive, CD ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น หน่วยรับแถะแสดงผลข้อมูถ (Input/Output Unit) หน่วยรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่ระบบ โดยอุปกรณ์ว่าข้อมูลเข้าที่เรียกวา Input Unit จากนั้นส่งต่อข้อมูลไปหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อทำหน้าทีประมวลผลตามคำสั่ง เมื่อประมาณผลเรียบร้อยจะแสดงผลออกทางจอภาพหรือออกทางเครื่องพิมพ์ทีเรียกว่า Output นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงผลลัพธ์ด้วยอุปกรณ์ อื่น ๆ เช่น ล้าโพง สำหรับการแสดงผลแบบเสียงเป็นต้น ระบบบัส (System Bus) เป็นเส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้อุปกรณ์ระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ ในระบบและสามารถเชื่อมต่อกันได้การทำงานของระบบบัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ดังนี้ 1. แอดเดรสบัส (Address Bus) คืบาสที่ตัวซีพียูเลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใดโดยจะต่อส่งสัญญาณเลือกออกมาทาง address Bus 2. ดาต้าบัส (Data Bus) คือ Bus CPU ใช้เป็นเส้นทางในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากตัวซีพียูไปยังอุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกเพื่อประมวลผลที่ CPU 3. คอนโทรลบัส (Control Bus) คือ เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากตัวซีพียูโดย bus ควบคุมเพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้าว่าจะส่งข้อมูลออกไปจากตัวซีพียูโดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น

                                      à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ลักษณะการทำงานของบัส